ชาวสวนแก่งหางแมว จ.จันทบุรี รวมกลุ่มกันปลูกพลูเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ หลังผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่ามายาวนาน

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

จุรีย์พร วงษ์แก้ว เจ้าของสวนพลู ในพื้นที่ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ยอมรับ ทำสวนมาหลายชนิดในพื้นที่ ถูกรบกวนจากช้างป่ามายาวนาน จนบางปี ขายผลผลิตได้ไม่คุ้มทุน จึงคิดปลูกใบพลูขาย ซึ่งเป็นพืชที่ช้างไม่ชอบกิน จนสามารถสร้างรายได้ให้แกคนในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ปราศจากสารเคมีอย่างสิ้นเชิง จนเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ ทั้ง จีน อินเดีย และไต้หวัน 

สำหรับต้นพันธุ์ใบพลู พันธ์พลูเขียว ที่นำมาขยายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ จากภาคใต้ และสามารถ เจริญเติบโตได้ดี ในพื้นที่ อำเภอแก่งหางแมว ที่มีลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศ ที่ใกล้เคียงกับภาคใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ทำให้เกิดโรคและแมลงค่อนข้างน้อย ใช้พื้นที่ปลูกน้อย สามารถปลูกแซมได้ในสวนยางพารา หรือปลูกรอบๆบริเวณบ้านได้

โดยในพื้นที่ หมู่15 ตำบลขุนซ่อง มีเกษตรกรรวมกลุ่มกันปลูกพลูจำนวน 30 ราย สร้างเป็นรายได้เสริม ได้ตลอดทั้งปี และหนีการรบกวนจากช้างป่า เนื่องด้วยเนื่องจากใบพลูเมื่อขยี้ใบ จะมีกลิ่นฉุนแบบเผ็ดร้อนของน้ำมีนหอมระเหย กลิ่นแสปร้อนของน้ำมันจากใบพลู ไม่เป็นที่ชื่นชอบของช้างป่า และไม่เคยเข้ามารบกวนแปลงที่ปลูกพลูในพื้นที่เลย

ทางด้าน เกษตรอำเภอแก่งหางแมว เปิดเผยปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่เริ่มหันปลูกพลู เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพลูนั้นพื้นที่ 1 ไรสามารถปลูกพลูได้ 400 ค้างหรือต้น ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 300 กิโลกรัมต่อเดือน ใบพลูสดคุณภาพดี มีราคาระหว่าง 40 – 250 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนใบพลูเสีย นำไปสกัดเป็นน้ำมันพลู สำหรับการตลาดมีทั้งตลาดในประเทศ จะส่งไปขายยังปากคลองตลาด และตลาดไทที่คนนิยมซื้อไปทำพลูม้วน ทำเครื่องเซ่นไหว้ ส่วนต่างประเทศ ทำเป็นพลูนาบ ปึกละ 1 กิโลกรัม ส่งออกไปยังประเทศอินเดียและไต้หวัน

#โควิด19 #NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11

แท็ก