ป.ป.ช.ตราด ลงพื้นที่ตรวจสอบ เสาหลักยางพารา บนถนน 3 สาย เบื้องต้นพบได้มาตรฐาน

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

นางสาวกาญจนา คำสุวรรณผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด นายนุกูล ย่องตีบ นายช่างโยธาชำนาญงานแขวงทางหลวงชนบทตราด พร้อมเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบเสาหลักขาวดำยางพารา บนถนน 3 สาย ประกอบด้วย สายเขาระกำ-ท่าโสม ถนนดอนจวน-บ้านล่าง และถนนสายตราด-แหลมศอก 

นางสาวกาญจนา คำสุวรรณผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด กล่าวว่าสาเหตุที่ต้องลงพื้นที่ลงมาตรวจสอบเสาหลักขาวดำยางพารา สืบเนื่องจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับเสาหลักขาวดำยางพาราในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จนเป็นที่สงสัยของประชาชนว่าเสาหลักขาวดำยางพาราไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สั่งการให้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ที่มีการติดตั้งเสาหลักขาวดำยางพารา

โดยจังหวัดตราดมีการติดตั้งเสาหลักขาวดำยางพาราเช่นกัน จึงเดินทางลงมาตรวจสอบพร้อมกับนายช่างโยธาชำนาญงานแขวงทางหลวงชนบทตราด“หลังจากการตรวจสอบ ในเบื้องต้นพบว่า เสาหลักขาวดำยางพาราที่ติดตั้งในพื้นที่จังหวัดตราด จำนวน 3 เส้นทาง เป็นไปตามมาตรฐาน แต่ยังคงต้องตรวจสอบเอกสารประกอบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งเสาหลักขาวดำยางพาราที่เป็นเรื่องนั้น มีความบางมากกว่าของจังหวัดตราด คล้ายกับการลดสเปกลงจนไม่ได้มาตรฐาน”

ด้านนายนุกูลย่องตีบ กล่าวว่า การติดตั้งเสาหลักขาวดำยางพารา ในพื้นที่จังหวัดตราดนั้น เป็นโครงการของกรมทางหลวงชนบท ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาพารา จึงได้คิดค้นการเสาหลักขาวดำจากยางพารา โดยจังหวัดตราดเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับงบประมาณติดตั้งเสาหลักขาวดำยางพารามาในช่วงปี พ.ศ.2563 และสหกรณ์ยางพาราเนินดินแดงตราด จำกัด เป็นผู้ผลิตขึ้นรูปเสาหลักขาวดำยางพารา โดยต้นทุนในการผลิต 1 ต้นจะมีราคาประมาณ 1,900 บาท หากติดตั้งและสีทาแล้ว จะมีราคาประมาณ 2,100 บาท ส่วนราคาเสาหลักขาวที่ทำจากปูน 1 ต้น จะมีต้นทุนประมาณ 800 บาท หากเทียบราคาแล้วเสาหลักขาวดำยางพารา อาจจะมีราคาที่สูงกว่า แต่หากมองในมุมของการเกิดอุบัติเหตุแล้วสามารถลดความรุนแรงของอุบัติเหตุหากมีการเข้าปะทะกับเสาหลักเขาดำยางพารา

Cr: ส.ปชส.ตราด

#NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11

แท็ก