กลุ่มทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม จ.จันทบุรี รับออเดอร์ผลิตแทบไม่ทัน

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

ศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านการทอเสื่อจันทบูร ยอมรับ ธุรกิจจักรสานได้รับความนิยมมากขึ้น หลังภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนเป็นของใช้และของฝาก แต่กว่าจะได้ชิ้นงานใช้เวลานาน เพราะทำอย่างละเอียดประณีต

นางมะลิ เพชรกุล หนึ่งในสมาชิกศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ต.หนองบัว อ.เมืองจันทบุรี เล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้การผลิตผลิตภัณฑ์จากกก ไม่ใช่แค่เสื่ออีกต่อไป ย้อนหลังไป 10 ปี เริ่มพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น ที่รองแก้ว รองเท้า กระเป๋า กล่องกระดาษทิชชู และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาแนะนำให้ความรู้ และผลักดันจนสามารถขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ได้สำเร็จเมื่อ 2 ปีก่อน

ป้ามะลิ เล่าให้ฟังต่อด้วยว่า กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายสักชิ้น ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก เริ่มจากการปลูกและเกี่ยวกก แล้วนำมาจัก ต่อด้วยตากให้แห้งจนขาว แล้วหวีให้ได้เป็นเส้นเล็กๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลากว่า 3 เดือน ก่อนที่จะนำมาย้อมสี แล้วนำไปแช่และล้างน้ำ ก่อนนำไปตากให้แห้งถึงจะนำมาทอได้  / ป้ามะลิบอกว่า ต้นทุนหลักๆ นอกจากค่าเส้นกก กิโลกรัมละ90 บาท ค่าแรงการทอ ยังมีค่าสีที่ตกกิโลกรัมละ 1 พันบาทด้วย ซึ่งนับว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ราคาผลิตภัณฑ์ของศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม มีราคาตั้งแต่ 1,400-2,300 บาท แล้วแต่ขนาดและลวดลายของชิ้นงาน ซึ่งราคาที่ตั้งขายนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่ต้นทุนเท่านั้นที่นำมาวัดค่า แต่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน งานhandmade ที่มีคุณค่ามากกว่าราคาที่ตั้งไว้ โดยเอกลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ที่นี่ คือเส้นเล็ก ถักทอด้วยความประณีต ละเอียดในทุกขั้นตอน และเส้นกกมีความคงต้น กว่า 25 ปี ยังคงสภาพการใช้งานเดิม ไม่มีเชื้อรา

ป้ามะลิ บอกว่า สมัยก่อน การตลาดของทางศูนย์ เน้นผลิตเอง..ขายเองในชุมชน แต่ 5 ปีย้อนหลังมานี้ ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาการส่งเสริมและผลักดันจากภาคเอกชน ที่มองเห็นคุณค่า และอยากให้เกิดความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ทางศูนย์จึงตอบสนองด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น ลวดลายที่สวยงามหลากหลาย ใช้ร่วมกับสมัยอย่าลงตัว จนมีออเดอร์สั่งยาวไปจนถึงเดือนเมษายนแล้ว

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี คือหนึ่งสถานที่ของภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุน และร่วมผลักดันให้องค์กร ผู้ประกอบการ นำผลิตภัณฑ์จากกก ที่มีลวดลาย สีสันที่สวยงามมาใช้ / นายแพทย์สมชาย ภูนวกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี กล่าวว่า ด้วยตนเป็นชาวจันทบุรี และกรอบแนวคิดใหญ่ขององค์กรที่ให้ความสำคัญสังคม ชุมชน ตนจึงอยากส่งเสริมผลักดันการทอเสื่อกก เพื่อร่วมแก้ปัญหามิติในชุมชน จึงก่อเกิดการทดลอง “รีแบรนด์นิ่ง” ด้วยการนำการทอกกมาใช้ที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ เช่น การตกแต่งอาหาร ผนังห้อง และโลโก้องค์กร เพิ่มความสนใจของประชาชนและผู้เข้ามาใช้บริการ / และในอนาคตจะร่วมมือกับพันธมิตรที่เห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาร่วมพันพัฒนารูปแบบและก่อให้เกิดนำมาใช้มากยิ่งขึ้น / และ ส่งเสริมแบรด์เสื่อจันทบูรให้เป็นที่รู้จัก พัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และถูกนำมาใช้อย่างมีประโยชน์ มีมูลค่าที่สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่ได้อย่างยั่งยืน รักษาภูมิ  / โอกาสนี้  นายแพทย์สมชาย ยังฝากไปถึงผู้ประกอบการ ธุรกิจบริการ นำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ มาออกแบบ ปรับปรุง ประยุกต์ พัฒนา จะเป็นสร้างการรับรู้ในคุณค่าได้ด้วย

#NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11

แท็ก