ผอ.โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เผย ระบบสาธารณสุขเมืองจันท์พร้อมสูงสุด สถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 ทำคลอดผู้ป่วยโควิด-19 สำเร็จแล้ว 7 ราย

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

นายแพทย์ธีรพงศ์ ตุนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ได้เปิดเผยข้อมูลกับผู้สื่อข่าวถึงสถานการณ์รับมือกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที้จังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า ว่า โรงพยาบาลพระปกเกล้าเป็นโรงพบายาลหลักในการรับผู้ป่วยระดับแดงและเหลือง คือ ตั้งแต่อาการ ไอ มีไข้ มีเสมหะ จนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลมีเตียงรองรับคนไข้ได้ 192 เตียง มีคนไข้อยู่ในความดูแล ณ ปัจจุบัน 107 ราย / 1 ราย อาการหนักต้องใช้ท่อช่วยหายใจ / 5 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจน ไฮโฟลว์ / จากทั้งหมด 353 ราย และรักษาหายกลับบ้านแล้ว 211 ราย // และในการระบาดละรอกที่ 3 นี้ โรงพยาบาลในจังหวัดจันทบุรี ทำคลอดหญิงที่ติดเชื้อโควิดแล้ว 7 ราย / 2 ราย คลอดตามธรรมชาติที่โรงพยาบาลเอกชน / 2 คลอดตามธรรมชาติที่โรงพยาบาลชุมชน / 3 ราย ต้องส่งฝ่าคลอดที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า / ซึ่งเด็กที่คลอด 3 ราย ไม่ได้รับเชื้อจากแม่แข็งแรงดี ที่เหลือต้องรอผลตรวจเชื้อ ระยะ 24 ชม. และ 72 ชม. ส่วนแม่ที่ติดเชื้ออีก 2 ราย อยู่ระหว่างรอคลอด // ขณะที่ แพทย์หญิงจรรยา ธำรงวุฒิกุล หัวหน้ากลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม ระบุว่า ก่อนหน้านี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งระยะแรก และระยะที่2 ทางโรงพยาบาลได้เตรียมพร้อมทั้งห้องคลอด ห้องผ่าตัด ทีมแพทย์ เครื่องมือแพทย์ไว้แล้ว แต่ทั้ง 2 ครั้ง ไม่มีหญิงติดเชื้อเข้ามาคลอด ส่งผลให้ครั้งนี้การรับมือจึงเป็นไปตามแผนที่วางไว้

ขณะที่ แพทย์หญิงยิ่งดาว ชยสิกานนท์ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด หัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม ระบุว่า หลังจากที่ทราบว่าจะมีการทำคลอดหญิงที่ติดเชื้อโควิด-19 ขั้นตอนนี้ต้องเตรียมทีมเพื่อจะได้นำแม่และเด็กแยกออกจากกันให้เร็วที่สุด และหลังจากนั้นก็จะนำเด็กไปตรวจหาเชื้อ หากพบว่าเด็กไม่พบเชื้อและถึงเวลากลับบ้านได้แล้ว ก็ต้องตรวจสอบครอบครัวว่ามีความเสี่ยงรับเชื้อมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องนำกลุ่มคนที่จะมารับเด็กเข้ารับการตรวจหาเชื้อก่อนทุกคน หากครอบครัวมีภาวะเสี่ยง ทางโรงพยาบาลก็เตรียมพื้นที่ดูแลจนกว่าแม่และเด็กจะปลอดภัย กลับบ้านพร้อมกันได้ และหากว่าพบเด็กมีเชื้อก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษา

ส่วนทางด้าน แพทย์หญิงบุณยพร พันธิตพงษ์ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า จากอัตราการทำคลอดหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด และข้อมูลพบว่า เด็กทารกในครรภ์ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 ต่อจากแม่ผ่านทางเลือด แต่จะเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสหลังคลอดที่แม่ต้องการสัมผัสแรกจากลูก จึงจำเป็นต้องแยกแม่และลูกออกจากกันโดยเร็วที่สุด / ขณะเดียวกันหญิงที่ติดเชื้อโควิดหลังคลอด สามารถปั้มน้ำนมให้ลูกกินได้โดยที่ไม่รับเชื้อ แต่จะเน้นย้ำว่าช่วงที่ผลยังติดเชื้อนั้นต้องแยกออกจากกัน และหลังจากรักษาหายแล้วก็ยังคงต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัยอยู่ดี

#หมอจันท์สุดเจ๋ง #โควิด19 #NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11

แท็ก