ผงะ! ปะการังทะเลระยองฟอกขาว กินพื้นที่กว่า 6 ไร่ หวั่นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

เมื่อวันที่ 30 พ.ค.64  ผอ.ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระยอง (ศรชล.จว.รย.) โดย นาวาเอก อนุพงค์ จันทร์พฤกษ์ รอง ผอ.ศรชล.จว.รย.) และนาวาเอก พิศาล หาญภักดี หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดระยอง (ศคท.จว.รย.) ให้ น.ต.จารึก พรเจริญ จนท.ส่งกำลังบำรุง ศรชล.จว.รย. บูรณาการร่วมกับ ศวทอ. ลงพื้นที่สำรวจปะการังสีขาวบริเวณหาดพลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านใรพื้นที่ ว่าได้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่บริเวณชายฝั่งหาดพลา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ที่สร้างความแตกตื่นให้กับชาวประมงในพื้นที่และ เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อวิถีชีวิตของสัตว์น้ำในทะเล

จากการสอบถามชาวบ้านและชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่แจ้งว่าปะการังสี ขาวชนิดนี้เกิดขึ้นปีละครั้ง จะเห็นอยู่ประมาณ 4-5 วัน และจะเกิดขึ้นประมาณเดือน เม.ย.ถึง มิ.ย. จากการสำรวจของศูนย์วิจัยฯ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ประการังฟอกขาว ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังผึ้ง และปะการังวงแหวน จะพบเห็นก็ต่อเมื่อน้ำทะเลลดต่ำระดับน้ำลึกประมาณ 10-30 ซม. ในช่วงน้ำลงเต็มที่ของทุกปี และมีอูณภูมิประมาณ 30-31 องศาเซลเซียส เป็นภาวการณ์สูญเสียสาหร่ายขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใน เนื้อเยื่อของปะการังออกไป ทำให้มองเห็นก้อนปะการังที่เป็นหินปูนสีขาวด้านใน แต่ในระหว่างปล่อยอาจเห็นปะการังมีสีซีดจาง สีชมพู ฯลฯ ขึ้นกับระยะของการฟอกขาว อาจไม่ฟอกจนขาวก็ได้เมื่อน้ำเย็นลงหรือแดดน้อยลง

 

ด้านน.ส.ประไพ สาธิตวิทยา อายุ 65 ปี ประธานกลุ่มอนุรักษ์ประมงสามัคคีบ้านพลา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประชาชน และชาวประมงพื้นบ้าน เกิดความตื่นตระหนกกับปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่วงกว้าง เพราะเมื่อไม่นานนี้พบว่า มีตะกอนสีชมพูจำนวนมาก ติดอวนปูขึ้นมาจากใต้ทะเล ที่ยังหาข้อสรุปแท้จริงไม่ได้ ซึ่งการเกิดปะการังฟอกขาวไม่ใช่เรื่องดีกับทะเลแต่อย่างใด จะต้องเกิดผลกระทบห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเลอย่างแน่นอน  จึงต้องการให้มีการตรวจสอบ และ หาสาเหตุที่แท้จริง

จากการตรวจสอบโดยการประเมินสถานการณ์ปะการังฟอกขาว โรคและภูมิคุ้มกันแนวปะการัง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บริเวณหาดพลา อ.บ้านฉาง  จ.ระยอง พบมีอุณหภูมิน้ำทะเล 32.2 องศาเซลเซียส ความเค็ม 33 ppt ความลึกน้ำ 0.5-1.0 เมตร (ช่วงน้ำลงต่ำสุด) และปะการังโผล่พ้นน้ำ พบว่าปะการังฟอกขาว พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ปะการังมีสีซีดจางประมาณ 80% และฟอกขาวประมาณ 10% ของปะการังมีชีวิต ปะการังที่มีสีซีดจาง ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) และปะการังวงแหวน (Favia sp.) ลักษณะการฟอกขาวของแนวปะการังบริเวณนี้ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเป็นแนวปะการังน้ำตื้น และน้ำทะเลลดลงต่ำในเวลากลางวัน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) จากการสำรวจในปี 2563 การฟอกขาวบริเวณนี้จะฟื้นตัวได้หลังกลางเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามการฟื้นตัวของปะการังนี้ต่อไป

#NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11

Cr: ส.ปชส.ระยอง

แท็ก